top of page
klangpanyath

Proceeding การสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 11

อัปเดตเมื่อ 26 ต.ค. 2566










รายงานการประชุมวิชาการ (Proceeding)

โครงการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 11

(The Eleventh Thai-Chinese Strategic Research Seminar)

จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Huaqiao University, HQU)

สถาบัน China Society for Southeast Asian Studies (CSSAS



ความสัมพันธ์ไทย-จีนภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลง ของโลกครั้งใหญ่:โอกาสและอนาคต



การจัดสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 11 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการไทย-จีน ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยมาเป็นข้อมูลในการจัดทำนโยบาย วางแนวทางการแก้ไขปัญหา และผลักดันยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom


งานวิจัยในครั้งนี้ มีผู้นำเสนอผลงานทั้งสิ้น 23 คน เป็นนักวิชาการจีน 12 คน นักวิชาการไทย 11 คน และผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็น 6 คน ภายใต้กรอบการวิจัย 6 หัวข้อได้แก่ 1.หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน 2.ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย 3.การลงทุนและเศรษฐกิจดิจิตัล 4.ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 5.การเปลี่ยนแปลงของโลกและความสัมพันธ์ไทย-จีน 6.ความร่วมมือล้านช้างแม่โขง-RCEP


โดยหัวข้อวิจัยมีข้อเสนอโดยสรุป ได้แก่ การส่งเสริมงานวิจัย BRI ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับบุคคลของทั้งสองประเทศ ผลักดันความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเสริมสร้างวัฒนธรรมร่วมกัน การสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้มีการทบทวนความรู้ที่มีต่อจีนในแง่มุมต่าง ๆ นำนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในองค์กรของชาวไทย-จีน เช่น สมาคมการค้า นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งเสริมความร่วมมือในหลายด้าน เช่น ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เศรษฐกิจ และการลงทุน ทั้งทวิภาคีและพหุภาคีจะเป็นสิ่งสำคัญท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง แต่ภาครัฐควรกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์แก่คนไทยและป้องกันการขาดดุล ตลอดจนการวางเป้าหมายและนโยบายรองรับที่ชัดเจน










ดู 67 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page