top of page

หิมาลัยและทิเบต : แหล่งน้ำของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เอเชียตะวันออก


บทความ/ เนื้อหาของสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้รับการเผยแพร่ ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ หลากหลายสำนัก เพื่อเผยแพร่ให้สู่สังคมวงกว้างมากยิ่งขึ้น





ผมเริ่มสนใจหิมาลัย จากป่าหิมพานต์ที่เรียนในวรรณคดี ตั้งแต่เด็ก ว่าอยู่บนหิมาลัย อยากเห็นต้นไม้และสัตว์ป่าในหิมพานต์ และอยากสัมผัส “หิมะ” ด้วย ซึ่งในภาษาไืทย”หิมาลัย” แปลว่าที่อยู่ของ”หิมะ” แม้ผมจะรู้จัก และ คุ้นเคย รวมทั้งเผชิญภัย กับ “snow” ในอเมริกามาแล้ว แต่เรามักเข้าใจว่า “snow” นั้นเป็นของไกลตัว เป็นของฝรั่ง เท่านั้น ความจริงเราใกล้ชิดกับ snow มานานแล้ว


เมืองหลวงของสยามนั้นทำไมจึงอยู่ที่อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพ ? ตอบ ก็เพื่อจะคุมทะเลไงครับ ราชธานีเราไม่เพียงคุมคนคุมไพร่และคุมนาเท่านั้น ยังคุมทะเลด้วย มองเผินๆ คือ คุมอ่าวไทย แต่มองให้ลึกกว่านั้น คุมทะเลอันดามันด้วย จากอ่าวไทย ที่อยู่ใต้อยุธยาไม่มากนั้น อยุธยาย่อมค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับจีนได้อย่างสะดวก และจากทะเลอันดามัน ผ่านเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี นั้น อยุธยาก็ย่อมแลกเปลี่ยนสินค้ากับฝรั่ง เปอร์เซีย อาหรับ และ อินเดีย ได้ พร้อมทั้งรับศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดียด้วยคำว่า “หิมะ” นั้น ย่อมเป็นคำเก่าของเราด้วย หิมะเป็นของ “ชมพูทวีป”ครับ ถ้าจะพูดให้ชัด แต่ก็อย่าลืมว่า “ชมพูทวีป” นั้นถือว่าเป็น “ของเรา” ได้ เราผูกพันและคุ้นเคยกับ“ชมพูทวีป” มายาวนานมาก ทั้งที่เป็น “อนุทวีป” ที่เป็นจริง ทั้งที่เป็นดินแดนสมมติ ดินแดนในอุดมคติ และในฝัน ส่วน “ทิเบต” นั้น ก็จัดอยู่ในรายการที่ผมอยากไปเยือน มันช่างน่าสนใจยิ่งดินแดนแห่งนี้ เรียกกันว่า “หลังคาโลก” เสียด้วย .....


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://mgronline.com/daily/detail/9610000039514


ขอขอบคุณสำนักข่าวมติชน มา ณ ที่นี้


Komentarze


bottom of page